ฟันผุ คือปัญหาที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในวัยเด็ก ตามการอ้างอิงของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) พบว่า 42 เปอร์เซ็นต์ของเด็กกลุ่มอายุระหว่าง 2 ถึง 11 ขวบ มีฟันน้ำนมผุ และ 23 เปอร์เซ็นต์ของเด็กในกลุ่มอายุนี้ไม่ได้เข้ารับการรักษาฟันผุ ฟันผุในเด็กเล็กก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ในเด็กได้ แต่จากคำแนะนำจากทันตแพทย์ คุณก็ช่วยให้พวกเขามีสุขภาพช่องปากที่ดี ปราศจากฟันผุได้ทำไมฟันน้ำนมจึงสำคัญแม้ฟันน้ำนมมักจะหลุดก่อนฟันแท้จะขึ้นเสียอีก แต่ไม่ได้แปลว่าฟันน้ำนมที่ผุจะเป็นเรื่องเล็กๆ เพราะหากฟันน้ำนมผุในวัยเด็กจะส่งผลต่อสุขภาพช่องปากของเด็กในอนาคตได้ปัญหาฟันน้ำนมผุก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดในระดับรุนแรงได้ และการสูญเสียฟันในระยะแรกเริ่มจะส่งผลที่น่าเป็นห่วง เพราะฟันน้ำนมคือสัญญาณบ่งบอกถึงการขึ้นของฟันแท้ว่าดีหรือไม่ดี หากขาดฟันน้ำนม ฟันแท้ที่กำลังขึ้นมาใหม่นั้นจะเบี้ยวหรือซ้อนกันได้ เกิดปัญหาทั้งด้านพูดและการพูดของเด็กสาเหตุจากการผุของฟันน้ำนมอีกด้วย จำไว้เสมอว่าปัญหาเหล่านี้ย่อมส่งผลเสียต่อความมั่นใจรวมถึงคุณภาพชีวิตของเด็ก ดังนั้น นอกจากการช่วยเหลือจากทันตแพทย์เด็ก คุณก็คือคนสำคัญที่จะช่วยปกป้องดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กรอดพ้นจากปัญหาฟันน้ำนมผุ
วิธีหลีกเลี่ยงฟันผุ
นอกจากการดูแลสุขอนามัยโดยรวมของเด็กแล้ว ควรใส่ใจต่อสุขภาพช่องปากของเด็กในช่วงก่อนฟันซี่แรกเริ่มขึ้นนับว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ใช้ผ้าเปียกสะอาดเช็ดเหงือกของลูกน้อยทุกครั้งหลังมื้ออาหาร และหลังจากฟันซี่แรกขึ้นแล้ว ให้ใช้แปรงสีฟันและน้ำเปล่าเพื่อทำความสะอาดฟันอย่างอ่อนโยน เมื่อใดที่ลูกน้อยเรียนรู้ที่จะบ้วนน้ำลายได้แล้ว ให้เริ่มใช้ยาสีฟันที่ปราศจากฟลูออไรด์ในการแปรงฟันของพวกเขาได้ และถ้าลูกน้อยเริ่มโตและรู้จักกลั้วหรือบ้วนน้ำออกจากปากได้แล้ว ให้สอบถามทันตแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาสีฟันที่ผสมของฟลูออไรด์ในปริมาณน้อยๆ ว่าเหมาะสำหรับลูกน้อยดู แม้ว่าผู้ปกครองบางคนเลือกที่จะยังไม่ให้ลูกน้อยใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วฟลูออไรด์มีคุณสมบัติช่วยป้องกันฟันผุได้ในระดับหนึ่ง
การเข้าพบทันตแพทย์เป็นประจำเป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับเด็กๆ และควรเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยแรกๆ ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เป็นครั้งแรกในช่วงก่อนขวบแรก ซึ่งในการเข้าพบนั้น ทันตแพทย์เด็กจะตรวจหาว่ามีฟันผุหรือปัญหาสุขภาพในช่องปากหรือไม่ ในขณะเดียวกันทันตแพทย์จะช่วยแนะนำคุณเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีให้แก่ทารกหรือเด็กเล็กเพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อได้อะไรที่จะช่วยได้หากตรวจพบภาวะฟันผุในระยะเริ่มแรก เห็นได้จากมีรอยสีขาวขุ่นที่เคลือบฟัน ทันตแพทย์อาจแนะนำวิธีแก้ไขด้วยกระบวนการคืนแร่ธาตุสู่ผิวเคลือบฟัน เช่น ฟลูออไรด์วานิช ซึ่งได้ผลมากกับปัญหาฟันผุระยะเริ่มต้นแต่หากฟันผุนั้นรุนแรงจนถึงเนื้อฟัน หรือ โพรงประสาทฟันแล้วล่ะก็ การรักษาด้วยกระบวนการคืนแร่ธาตุอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ต้องเข้ารับการรักษาโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การรักษาฟันผุสำหรับเด็กโตนั้นทำได้เช่นเดียวกับวิธีของผู้ใหญ่ เช่น การอุดฟัน หรือครอบฟัน แต่ถ้าฟันผุนั้นไม่ได้รับการรักษาและลุกลามจนถึงโพรงประสาทฟัน ฟันซี่นั้นอาจต้องถูกถอนออก ทันตแพทย์เด็กจะแนะนำวิธีการดูแลที่เหมาะสมหลังการตรวจวินิจฉัยช่องปากของเด็กแล้วสรุปคือ ปัญหาฟันน้ำนมผุส่งผลต่อปัญหาด้านอื่น ๆของเด็กในอนาคต แต่หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมจากทันตแพทย์ ลูกน้อยของคุณก็มีสุขภาพฟันที่แข็งแรงได้