การดูแลฟันน้ำนมที่งอกใหม่
Badge field

การงอกของฟันน้ำนม: สัญญาณและการดูแลรักษา

Published date field

การงอกของฟันน้ำนมซี่แรก ถือเป็นหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของลูกน้อยช่วงขวบปีแรก และพ่อแม่ส่วนใหญ่มักกังวลกับเรื่องนี้ เพราะบ่อยครั้งลูกน้อยจะหงุดหงิดหรือรำคาญเมื่อฟันกำลังงอก การช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวเป็นเรื่องที่ท้าทายแต่สามารถทำได้ เมื่อลูกน้อยเริ่มมีฟันขึ้น

ฟันเริ่มงอกเมื่อไหร่

ฟันน้ำนมซี่แรกมักงอกเมื่อลูกน้อยอายุประมาณ 6 เดือน หรือในช่วงอายุ 3 ถึง 14 เดือน เด็กบางคนฟันน้ำนมขึ้นทีละซี่ แต่บางคนขึ้นทีละคู่หรือ 2-3 ซี่ สมาคมทันตแพทย์อเมริกัน ได้แสดงแผนภูมิลำดับการงอกของฟัน แต่ไม่ได้แปลว่าเด็กทุกคนจะมีลำดับการงอกตามนั้นเสมอไป สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา สมาคมทันตแพทย์อเมริกัน และสมาคมทันตาภิบาลอเมริกันเห็นพ้องกันว่า เด็กควรพบทันตแพทย์ภายใน 6 เดือนหลังจากฟันซี่แรกงอก หรือเมื่อลูกอายุครบ 1 ขวบ แต่ถ้าฟันลูกน้อยยังไม่ขึ้นหลัง 1 ขวบแล้วละก็ พ่อแม่ควรพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์หรือทันตแพทย์

สัญญาณที่แสดงว่าฟันของลูกน้อยกำลังงอก

อาจมีความเชื่อต่างๆ ตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย แต่ความจริงแล้ว ไม่มีสัญญาณหรือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆ ที่บ่งชี้ว่านี่คืออาการของฟันกำลังงอก พ่อแม่บางคนเข้าใจผิดว่า การที่ลูกมีไข้ น้ำมูกไหล หรือท้องเสีย เป็นอาการของฟันกำลังจะงอก เด็กแต่ละคนนั้นจะมีอาการแตกต่างกันไป ทารกบางคนอาจไม่มีอาการใดๆ แต่บางคนกลับมีอาการเจ็บหรือปวดนานหลายสัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นฟันซี่ใดที่งอกด้วย คุณอาจสังเกตุเห็นเด็กทารกแสดงอาการเหล่านี้

  • น้ำลายยืดมากกว่าปกติ
  • เหงือกบวมและอาจมีก้อนใต้เหงือกร่วมด้วย
  • ขยี้ตา ถูแก้มหรือหูตัวเองบ่อยๆ
  • ไม่ยอมรับประทานอาหารหรือดูดนมเมื่อถึงเวลา
  • อารมณ์หงุดหงิด
  • ไม่ยอมนอนหรือกระสับกระส่ายในช่วงเวลาที่ควรจะพัก
  • ทำท่าอยากเคี้ยวอะไรแข็งๆ ตลอดเวลา

จะเห็นได้ว่าอาการเหล่านี้ไม่น่าเกี่ยวข้องกับฟันเลย แต่ถ้ามีอาการ 2-3 อย่างร่วมกัน สันนิฐานได้ว่าฟันกำลังจะงอก

ทำอย่างไรเมื่อลูกเจ็บฟันซี่ที่จะงอก

โชคดีที่มีหลายวิธีที่ช่วยได้ อย่างการซื้อยาแก้ปวดตามร้านขายยา เช่น ibuprofen หรือ acetaminophen สามารถช่วยลดอาการปวดตื๊อๆ ได้ หรือยาชาชนิดป้ายที่มีส่วนประกอบของ benzocaine (คล้ายกับยาชาแบบเจลที่ทันตแพทย์ใช้) ก็สามารถใช้ได้ แต่งานวิจัยบางชิ้นแนะนำให้ใช้แต่พอประมาณเท่านั้น เพราะอาจส่งผลกระทบต่อระดับออกซิเจนในเลือดของทารก

การบรรเทารูปแบบอื่นๆ อย่างเช่น แช่เย็นห่วงยางให้ทารกกัด หรือใช้นิ้วสะอาดกดบริเวณเหงือกเพื่อบรรเทาอาการปวด ไม่ควรให้ทารกเคี้ยวอาหารแข็งๆ เพราะอาจติดคอได้ ส่วนการใช้น้ำอุ่นเช็ดนวดเบาๆ ก็ช่วยให้ทารกรู้สึกผ่อนคลายขึ้นได้

การดูแลฟันน้ำนมที่งอกใหม่

ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดทำความสะอาดในช่องปากของทารก เริ่มเช็ดได้ก่อนที่ฟันซี่แรกจะงอก ในช่วงนี้การใช้ยาสีฟันยังไม่จำเป็นเท่ากับการทำความสะอาดเพื่อกำจัดคราบแบคทีเรียในช่องปาก และควรพาลูกไป พบทันตแพทย์ครั้งแรกเมื่ออายุครบ 1 ขวบ เพื่อรับคำแนะนำถึงวิธีการดูแลเหงือกและฟันของทารก อีกทั้งยังสามารถซักถามข้อสงสัยต่างๆ เพื่อการดูแลสุขภาพช่องปากให้ลูกน้อยได้อย่างดีที่สุด

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม