เมื่อไหร่ที่ควรพาลูกน้อยไปพบทันตกรรมเด็ก
Badge field
Published date field

การพาลูกน้อยไปพบ

ทันตกรรมเด็กเป็นครั้งแรก

ถึงแม้ว่าฟันน้ำนมจะไม่อยู่ในช่องปากนานนัก แต่การทำความสะอาดเหงือกและฟันน้ำนมนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะส่งผลต่อสุขภาพช่องปากในอนาคต แม้ว่าเด็กคนนั้นๆ จะไม่ได้ทานขนมจุกจิกหรือของหวานก็ตาม กุมารแพทย์และทันตแพทย์สำหรับเด็กจึงแนะนำว่าช่วงเวลาที่พ่อแม่ควรพาลูกน้อยไปพบทันตแพทย์นั้น ควรอยู่ในช่วงขวบปีแรกของเด็ก ในบางกรณี อาจมีการแนะนำให้พาเด็กไปหาหมอฟันเมื่อฟันซี่แรกเริ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงแนวทางการปฏิบัติทั่วไป เคยสงสัยว่ามีอะไรอย่างอื่นนอกจากการงอกของฟันที่ทำให้ลูกน้อยรู้สึกไม่สบายในช่องปากหรือไม่?

วิธีดูแลสุขภาพฟันของลูกน้อย

ตามการอ้างอิงของสมาคมทันแพทย์สำหรับเด็กแห่งสหรัฐอเมริกา (AAPD) ทันตแพทย์สำหรับเด็กแนะนำให้ดูแลสุขภาพฟันน้ำนมของเด็กตั้งแต่ช่วงแรกที่ฟันเริ่มขึ้น เพราะมีผลกระทบต่อการพูดและการเคี้ยวอาหารของเด็ก มากไปกว่านั้น ฟันน้ำนมยังเป็นฐานที่กำหนดตำแหน่งของฟันแท้ที่จะงอกขึ้นมาแทนเมื่อฟันน้ำนมหลุด เพื่อช่วยดูแลสุขภาพฟันน้ำนมให้แข็งแรง หรือ ลดปัญหาที่ต้องไปหาหมอฟันในกรณีเหตุฉุกเฉิน การรู้จักวิธีป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับเด็กทารกหรือช่วงเริ่มเห็นฟันสีขาวปรากฏที่เหงือก ให้ใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซชุบน้ำเช็ดบริเวณเหงือกของเด็ก หรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนุ่มเป็นพิเศษสำหรับเด็กโดยเฉพาะ แต่ยังไม่ควรให้เด็กใช้ยาสีฟันก่อนอายุ 2 ขวบ การทำความสะอาดเหงือกให้แก่ลูกน้อยเป็นประจำหลังป้อนนมจะช่วยป้องกันการเกิดฟันผุได้ และยังช่วยสร้างนิสัยการดูแลสุขภาพช่องปากประจำวันที่ดีแก่เด็กตั้งแต่ยังเล็กด้วย เมื่อฟันเด็กเริ่มขึ้น ควรเริ่มให้ลูกใช้แปรงสีฟันและขัดฟันเป็นประจำตามคำแนะนำของทันตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการดูแลสุขภาพในช่องปากได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

อาการที่บ่งบอกว่าลูกน้อยฟันกำลังจะขึ้น:

เวลาที่เหมาะสมในการพาลูกน้อยไปพบทันตแพทย์หรือคุณหมอเวลาฟันเด็กกำลังจะขึ้น อาจแสดงอาการดังต่อไปนี้:

  • น้ำลายไหลมากกว่าปกติ
  • เริ่มงอแง โดยเฉพาะตอนกลางคืน
  • มีผื่นขึ้นที่หน้า
  • อยากกัดสิ่งของใกล้ตัว (เพื่อปลดปล่อยความรู้สึกกดดัน)
  • รู้สึกไม่สบายเนื้อตัวหรือเหมือนจะเลี้ยงยาก
  • ดึงหู
  • ลูบแก้ม

หากเจ้าตัวน้อยของคุณใกล้มีฟันขึ้นและมีอาการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าถึงเวลาที่คุณต้องพาลูกน้อยไปพบหมอหรือทันตแพทย์ บางคนก็มีไข้อ่อนๆ แต่หากเด็กมีอุณหภูมิสูงกว่า 102 ฟาเรนไฮต์ คุณควรรีบพาเจ้าตัวน้อยไปพบแพทย์ กระนั้น ยังมีข้อโต้แย้งว่าการที่ทารกท้องเสียอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่ฟันกำลังจะขึ้นด้วย แต่ความเห็นส่วนใหญ่คิดว่า หากต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อยกว่าปรกติเพราะทารกมีอุจจาระเหลว พ่อแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นผลมาจากอาการเจ็บป่วยอย่างอื่น หากมีการไอและเป็นหวัดร่วมด้วย ควรต้องรีบพาลูกน้อยเข้ารับการรักษาในทันทีเพราะไม่น่าจะใช่อาการเกี่ยวเนื่องจากการขึ้นของฟัน อีกอาการที่ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ การมีเลือดออก ทั้งนี้ ทารกอาจมีเลือดออกตามจุดที่เป็นแผลพุพองหรือตามเนื้อเยื่อบริเวณเหงือกเมื่อฟันใกล้ขึ้น แต่หากมีจุดเลือดออกมากกว่า 2-3 จุด ควรรีบนัดพบทันตแพทย์เพื่อพาลูกน้อยของคุณไปตรวจและเข้ารับการรักษา การเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมครั้งแรก

โดยทั่วไป คุณควรพาลูกน้อยไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่ในช่วงขวบปีแรก อย่าลืมสร้างบรรยากาศการไปพบทันตแพทย์ครั้งแรกเป็นเรื่องน่าสนุก อ๊ะ ไม่ควรล่อหรือให้ของหวานเป็นรางวัลตอบแทน! เพราะนั่นจะกลายเป็นว่าคุณต้องพาเขาไปหาหมอฟันบ่อยครั้งเพราะปัญหาฟันผุ ส่วนใหญ่ ทันตแพทย์เด็กจะมีของเล่นหรือตุ๊กตาไว้เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของเด็กในระหว่างการรักษา เพราะเด็กเล็กส่วนใหญ่ตื่นตระหนกหรือกลัวเครื่องมือทางการแพทย์ ทันตแพทย์เด็กจะรู้ว่าไม่ควรใช้เวลาในการรักษานานจนเกินไปและในบางรายต้องยอมอนุโลมให้พาเด็กกลับมาตรวจในอีก 6 เดือนข้างหน้าได้ เหมือนเช่นเคย คุณสามารถปรึกษาทันแพทย์ของคุณเกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกน้อยอย่างดีที่สุดได้ เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเวลาที่เหมาะสมในการพาลูกน้อยไปพบทันตแพทย์ได้ที่บทความด้านสุขภาพช่องปากของคอลเกต

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม