นิ่วทอนซิลคืออะไร และสามารถรักษาได้อย่างไร - คอลเกต

นิ่วทอนซิลคืออะไร

นิ่วทอนซิล แค่ชื่อก็น่ากลัวแล้ว ทีนี้ลองนึกภาพว่าจะเป็นอย่างไรเมื่อส่องกระจกแล้วอ้าปากพูดว่า "ว้าวววววว" เท่านั้นแหละ ถึงกลับกลายเป็น "อ้ากกกกกกก!!!!!! นี่มันอะไรกันเนี่ย" เราพร้อมที่จะตอบคำถามสำคัญนั้น

นิ่วทอนซิลก่อตัวอย่างไร

นิ่วทอนซิล หรือที่เรียกว่าทอนซิลอักเสบนั้นพบได้ทั่วไป พวกมันเป็นก้อนสีขาวเล็กที่ก่อตัวขึ้นบริเวณร่องของต่อมทอนซิลของคุณ ซึ่งอาจพบได้ที่ด้านใดด้านหนึ่งของต่อมทอนซิลคอหอยที่ด้านในสุดของลำคอ โดยเกิดขึ้นเมื่อแบคทีเรียและน้ำลายรวมกันในร่องหรือซอกเล็กของต่อมทอนซิล และมีขนาดตั้งแต่เมล็ดข้าวไปจนถึงเมล็ดถั่ว นิ่วทอนซิลจะนิ่มในตอนต้น แต่เมื่อมีการรวมตัวของแร่ธาตุจากน้ำลายและอาหารที่คุณทานเข้าไปอาจทำให้กลายเป็นแคลเซียมที่แข็งจนเกือบจะเหมือนหิน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ

คุณอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป็นเพราะว่านิ่วทอนซิลนี้มักไม่มีอาการ นอกจากกลิ่นปากจากนิ่วทอนซิลและต่อมทอนซิลบวมเล็กน้อย อาจเป็นอาการเดียวของคุณ แต่บางครั้งในบางคนก็มีอาการที่รุนแรง ซึ่งได้แก่ อาการเจ็บคอเรื้อรัง การติดเชื้อ หรือกลืนลำบาก หากมีอาการเหล่านี้ คุณควรติดต่อแพทย์ของคุณเพื่อป้องกันปัญหาที่ร้ายแรงกว่า

การรักษานิ่วทอนซิล

นิ่วทอนซิลรักษาได้ด้วยการกำจัดเท่านั้น และบ่อยครั้งที่นิ่วทอนซิลก็หายไปเอง ถ้าไม่หายไปเองและคุณไม่มีอาการใดๆ ทันตแพทย์หรือแพทย์ของคุณอาจกำจัดนิ่วทอนซิลออกโดยไม่ใช้ยาชา หากกลายเป็นปัญหาซ้ำซาก ซึ่งมีอาการเจ็บคอ บวม ปัญหาการกลืนหรือการหายใจบ่อยครั้ง แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้ทำการผ่าตัดต่อมทอนซิล การผ่าตัดต่อมทอนซิลเป็นขั้นตอนการผ่าตัดเพื่อเอาต่อม (ทอนซิล) ขนาดเล็กสองต่อมที่ด้านในของลำคอออก

นิ่วทอนซิลเป็นเรื่องทั่วไปและไม่เป็นอันตราย ซึ่งเกิดจากเศษอาหารและน้ำลายเข้าไปอุดบริเวณร่องของต่อมทอนซิล และบางครั้งอาจก่อตัวเป็นตะกอนแคลเซียมแข็งขนาดเล็กที่ดูเหมือนก้อนหินสีขาวเล็กๆ หากคุณมีอาการเหล่านี้บ่อยครั้งและมีภาวะแทรกซ้อน เช่น เจ็บคอเรื้อรัง คุณอาจต้องเอาต่อมทอนซิลออก แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะส่วนใหญ่แล้วจะไม่เกิดปัญหาใดๆ และหายไปเอง คุณแค่ไม่อยากใช้เวลามองพวกมันในกระจกเป็นเวลานาน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม