วิธีรักษาฟันผุ
Badge field

วิธีป้องกันฟันผุอย่างมีประสิทธิภาพ

Published date field

โรคฟันผุ คืออะไร
โรคฟันผุ ในภาษาทางการแพทย์ คือ การเสื่อมสลายของฟัน ซึ่งรวมถึงโครงสร้าง ผิวเคลือบฟัน และ เนื้อฟัน

ในรูป

ผิวเคลือบฟัน

เนื้อฟัน

โพรงประสาท

คลองรากฟัน

โรคฟันผุเกิดขึ้นได้อย่างไร

โรคฟันผุเกิดจาก แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในช่องปากรวมตัวกับเศษอาหารและน้ำลาย สะสมจนเป็นคราบเหนียว หรือที่เรียกว่าคราบฟัน หรือ คราบแบคทีเรีย มักเกาะอยู่บนผิวของฟัน แบคทีเรียเหล่านี้จะเปลี่ยนสภาพแป้งและน้ำตาลให้เป็นกรด ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายแร่ธาตุผิวฟันจนเกิดเป็นรู โดยเริ่มจากรูเล็กๆ ลุกลามใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นโรคฟันผุ

 

ใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อโรคฟันผุ

โรคฟันผุมักจะพบได้บ่อยในเด็ก แต่ผู้ใหญ่ก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน โดยมีปัจจัยเหล่านี้เป็นส่วนประกอบ:

  • การบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง (แป้ง และ น้ำตาล)
  • การดื่มน้ำที่ไม่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ
  • อาการปากแห้ง น้ำลายน้อย
  • การใช้ยาบางชนิด
  • การดูแลรักษาความสะอาดช่องปากอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ

 

บริเวณของฟันที่ผุได้ง่ายที่สุด

มักเกิดใน 3 ตำแหน่งดังนี้

  1. อาการฟันผุบริเวณพื้นผิวเคลือบฟันด้านบดเคี้ยว เพราะคราบแบคทีเรียจะติดอยู่ตามร่องฟัน มักพบบ่อยในเด็กเนื่องจากมักละเลยการแปรงฟันในบริเวณนี้
  2. อาการฟันผุระหว่างซอกฟัน เพราะเป็นบริเวณที่ยากต่อการเข้าถึง ไม่สามารถทำความาสะอาดได้ด้วยการแปรงฟันเพียงอย่างเดียว
  3. อาการฟันผุที่บริเวณรากฟัน เกิดขึ้นจากภาวะเหงือกร่น หรือการสูญเสียของกระดูกฟันที่เกิดจากโรคเหงือก หรือโรคปริทันต์อักเสบ

อาการบ่งชี้ของโรคฟันผุมีอะไรบ้าง

ฟันผุอาจเกิดขึ้นครั้งละหนึ่งซี่หรือมากกว่านั้นได้ อาการที่พบบ่อยได้แก่

  • พบรูหรือรอยผุที่ฟัน
  • มีอาการเสียวฟันมากขึ้น (เมื่อดื่มหรือรับประทานอาหารหวาน ร้อนจัด หรือเย็นจัด)
  • มีอาการปวดฟัน
  • มีเศษอาหารติดบริเวณซอกฟันบ่อยๆ

ระดับความรุนแรงของโรคฟันผุ

รูปที่1  คราบขาว

รูปที่2 การผุที่ผิวเคลือบฟัน

รูปที่3 ผุลึกถึงเนื้อฟัน

รูปที่4 เกิดการติดเชื้อที่โพรงประสาทฟัน  , ฝีที่ปลายรากฟัน

ระดับที่ 1 การเกิดคราบขาว
แบคทีเรียจะทำปฏิกิริยากับแป้งหรือน้ำตาล ก่อให้เกิดกรดที่สามารถทำลายผิวเคลือบฟัน เป็นจุดเริ่มต้นของการสูญเสียแร่ธาตุ (แคลเซียม) ซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นคราบสีขาวขุ่นที่ฟัน ระยะนี้ยังสามารถรักษาได้โดยง่าย

ระยะที่ 2 การผุที่ผิวเคลือบฟัน
การสูญเสียแคลเซียมยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ ในบริเวณผิวเคลือบฟัน ระยะนี้ควรได้รับการดูแลรักษาโดยทันตแพทย์

ระยะที่ 3 การผุที่เนื้อฟัน
การผุจากผิวเคลือบฟันลุกลามลึกเข้าไปถึงเนื้อฟันซึ่งสามารถขยายการผุไปยังฟันซี่อื่น ๆ ได้

ระยะที่ 4 การผุลุกลามไปยังโพรงประสาทฟัน
หากยังไม่ได้รับการรักษาในระยะที่ 3 การผุจะลุกลามลึกไปถึงโพรงประสาทฟัน และเกิดการติดเชื้อ จนเกิดฝีที่ปลายรากฟันได้

จะรักษาโรคฟันผุได้อย่างไร

  • การรักษาขั้นพื้นฐานคือการอุดฟัน ทันตแพทย์จะสกัดเนื้อฟันเฉพาะส่วนที่ผุออก และตามด้วยการใช้วัสดุในการอุดฟัน
  • หากการผุขยายพื้นที่มากขึ้น เกิดการเน่าเสียของเนื้อฟันที่รุนแรง จนไม่สามารถอุดฟันได้ ทันตแพทย์จะรักษาโดยการสกัดฟันส่วนที่ผุออก แล้วตามด้วยการครอบฟัน
  • และหากการผุของฟันลามลึกไปถึงส่วนในของเนื้อฟัน ทันตแพทย์จะทำการรักษารากฟัน โดยการทำความสะอาดโพรงประสาทฟันที่มีการติดเชื้อ แล้วทำการอุดฟัน ตามด้วยการครอบฟันเป็นขั้นตอนสุดท้าย

การป้องกันฟันผุทำได้อย่างไร

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์หรือมีคุณสมบัติช่วยลดการก่อตัวของคราบแบคทีเรียได้
  • การใช้ไหมขัดฟัน หรือ แปรงทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำเพื่อทำความสะอาดบริเวณที่การแปรงฟันเข้าไม่ถึง
  • การบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์หรือสารลดการก่อตัวของแบคทีเรีย
  • บริโภคอาหารให้เหมาะสมตามหลักโภชนาการ และจำกัดการบริโภคอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
  • เข้าพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน

การแปรงฟันอย่างถูกวิธี

  1. วางหัวแปรงทำมุม 45 องศากับขอบเหงือก ขยับแปรงไปมาเบาๆ ระหว่างเหงือกกับฟัน แล้วปัด (ฟันบนปัดลง ฟันล่างปัดขึ้น)
  2. แปรงฟันด้านในแต่ละซี่ ด้วยวิธีเดียวกัน
  3. แปรงบริเวณผิวฟันที่ใช้บดเคี้ยวแต่ละซี่ให้ครบทุกซี่
  4. ใช้ปลายขนแปรงสีฟันแปรงด้านหลังของฟันหน้าแต่ละซี่ ทั้งฟันบน และฟันล่าง
  5. อย่าลืมแปรงลิ้นเป็นขั้นตอนสุดท้าย

การใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี

  1. ดึงไหมขัดฟันความยาวประมาณ 1 ฟุตพันหลวมๆ รอบนิ้วกลางทั้งสองข้าง โดยให้เหลือเส้นไหมที่ใช้ขัดฟันประมาณ 2 นิ้ว
  2. ใช้นิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้จับไหมขัดฟัน แล้วค่อย ๆ เลื่อนเส้นไหมลงระหว่างซอกฟันเบา ๆ ระวังอย่าให้บาดเหงือก
  3. โค้งไหมโอบรอบฟันแต่ละซี่เป็นรูปตัวซี “C” เลื่อนไหมขัดฟันขึ้นลงเบาๆ ระหว่างซอกฟัน และขอบเหงือก เลื่อนเส้นไหม จากนิ้วกลางด้านหนึ่ง ไปยังนิ้วกลางอีกด้านหนึ่งเพื่อจะได้ใช้ไหมที่สะอาดสำหรับขัดซอกฟันถัดไป

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม