ผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองได้
Badge field

ผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองได้

Published date field

การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองได้

ผู้สูงอายุที่ดูแลตัวเองได้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

  1. ผู้สูงอายุที่สุขภาพแข็งแรงดี (Active Seniors) คือผู้สูงอายุที่ยังคงกระฉับกระเฉง ดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตัวเอง ไม่มีโรคประจำตัวใด ๆ ใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองเป็นอย่างดี
  2. ผู้สูงอายุที่ยังพอดูแลตัวเอง (Active Seniors Plus) ถึงแม้จะมีโรคประจำตัวบ้าง เช่น ความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ หรือ โรคข้ออักเสบ ซึ่งอาจส่งผลกระทบหรือละเลยการดูแลสุขภาพช่องปากได้

คุณคือผู้สูงอายุที่มีปัญหาเหล่านี้อยู่ใช่หรือไม่

  ใช่                        ไม่     

  1. มีอาการปวดฟัน
  2. เหงือกบวม หรือ มีเลือดออก
  3. ฟันโยก
  4. ฟันบิ่น คม หรือ ยาวขึ้น
  5. ฟันปลอมไม่กระชับ
  6. เคี้ยวอาหารไม่ค่อยถนัด
  7. มีอาการเจ็บหรือปวดฟันขณะรับประทานอาหาร
  8. เสียวฟันเมื่อดื่มน้ำร้อนหรือเย็น
  9. มีกลิ่นปาก
  10. ปากแห้ง
  11. มีแผลในปาก
  12. มีโรคประจำตัว เช่น ความดัน เบาหวาน ไขข้ออักเสบ

คำแนะนำ การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ

  • แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ( เช้า และ ก่อนนอน ) ด้วยแปรงขนนุ่ม
  • ใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ 1,000 พีพีเอ็มขึ้นไป เพื่อป้องกันฟันผุ
  • ใช้ไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟันทุกวัน เพื่อทำความสะอาดส่วนที่แปรงสีฟันเข้าไม่ถึง
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ 225 พีพีเอ็ม ทุกวัน
  • พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน ( ปีละ 2 ครั้ง) เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก
  • สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาฟันจะผุ ทันตแพทย์อาจทำการเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์วานิช

คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับผู้สูงอายุที่สุขภาพดี

  • แจ้งทันตแพทย์ทันทีหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพร่างกาย เพราะอาการของโรคบางอย่าง อาจมีผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันได้
  • ทันตแพทย์อาจให้คำแนะนำการเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์วานิช สูตรความเข้มข้นสูง เพื่อป้องกันฟันผุในกลุ่มเสี่ยง
  • รับประทานอาหารมีประโยชน์ในสัดส่วนที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ ถึงวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องและเหมาะสม
  • ควรงดสูบบุหรี่

คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้สูงวัยที่มีโรคประจำตัว

  • ให้ปรึกษาทันตแพทย์เรื่องการใช้น้ำลายเทียม ในกรณีที่มีปัญหาปากแห้ง
  • เลือกใช้น้ำยาบ้วนปากชนิดไม่มีแอลกอฮอล์
  • แจ้งทันตแพทย์ให้ทราบทันที ถึงโรคประจำตัว และ ยาที่กินประจำทุกครั้ง เพราะมีผลต่อการการวินิจฉัยและการรักษาทางทันตกรรม
  • ทันตแพทย์อาจแนะนำให้เคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์วานิช ที่มีความเข้มข้นสูง เพื่อป้องกันฟันผุในกลุ่มเสี่ยง
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น
  • รับประทานอาหารมีประโยชน์ในสัดส่วนที่เหมาะสม
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ถึงวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องและเหมาะสม
  • ควรงดสูบบุหรี่

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม