80379996
Badge field

เหตุผลสำคัญของการใช้เฝือกสบฟัน

Published date field

เฝือกสบฟันเป็นพลาสติกอ่อนหรืออุปกรณ์ลามิเนตที่ ใช้ในการเล่นกีฬาเพื่อป้องกันการบาดเจ็บในช่องปากกับฟัน ปาก ลิ้น แก้มและขากรรไกร สมาคมทันตกรรมอเมริกันระบุว่าหนึ่งในสามของการ บาดเจ็บในช่องฟันเกี่ยวข้องกับการเล่นกีฬา1.1 การใช้เฝือกสบฟันสามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บในช่องปากได้มากกว่า 200,000 ครั้งในแต่ละปี

ประเภทของการบาดเจ็บทางทันตกรรมที่อาจเกิดขึ้น โดยไม่มีการใช้เฝือกสบฟัน ได้แก่ ฟันบิ่นหรือแตกหัก ที่ครอบฟันหรือสะพานฟันแตกหัก ริมฝีปากและคางได้รับบาดเจ็บ รากฟันสร้างความเสียหายกับตัวฟัน ขากรรไกหัก และการกระแทกอย่างแรง นักกีฬาใด ๆ อาจมีความเสี่ยงจากการบาดเจ็บในช่องปากและการบาดเจ็บใด ๆ ที่สามารถป้องกันได้ด้วยเฝือกสบฟัน

เฝือกสบฟันบังคับให้ใช้ในกีฬาที่ เช่น ฟุตบอล ฮ็อกกี้ และชกมวย ซึ่งแนวโน้มจะเกิดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ เด็กและผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องในการสัมผัสกับกีฬาต่าง ๆ เช่น บาสเกตบอล เบสบอล ซอฟท์บอล มวยปล้ำ ฟุตบอล และวอลเลย์บอล อาจจะพิจารณาให้มีการสวมใส่เฝือกสบฟันเพื่อป้อง กันการบาดเจ็บที่ปาก

การศึกษาของนักกีฬาในระดับมัธยมปลายแห่งพบว่า ร้อยละ75 ของการบาดเจ็บที่เกิดขึ้น เมื่อไม่ได้สวมเฝือกสบฟัน และ 40 เปอร์เซ็นต์เกิดขึ้นในระหว่างการเล่นเบสบอล และบาสเกตบอล 9 เปอร์เซ็นต์ของนักกีฬาทุก ประเภทประสบปัญหา การบาดเจ็บ ในช่องปากบางส่วน ในขณะที่อีกร้อยละ 3 ได้รับรายงานว่าหมดสติ ร้อยละ 56 ของการกระทบกระแทกทั้งหมดได้รับความทรมาน เมื่อไม่ได้สวมเฝือกสบฟัน การบาดเจ็บที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาเป็นที่แพร่หลาย มากขึ้นกว่าที่รายงานก่อนหน้านี้2

ในเด็กหรือผู้ใหญ่ เฝือกสบฟันจึงเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับนักกีฬาทั้งหมด สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันปากที่ เหมาะสมให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมของคุณ.

© ลิขสิทธิ์ 2011 Colgate-Palmolive Company

1 The North Carolina Dental Society Mouth Guard Project. Reviewed information at www.ncdental.org.
2 McNutt T, Shannon SW Jr, Wright, JT, Feinstein, RA. Oral Trauma in Adolescent Athletes: A Study of Mouth Protectors. Pediatr Dent 1989;11:209-13.

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม