518050061
Badge field

ประโยชน์ของการอุดหลุมร่องฟันในเด็ก

Published date field

ในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา คนเราตระหนักถึงความสำคัญของการอุดหลุมร่องฟันกันมากขึ้น แต่พ่อแม่ที่ยังไม่เคยรักษาฟันด้วยวิธีนี้สมัยยังเด็กอาจจะต้องหาศึกษาความรู้จนเข้าใจก่อนจะพาลูกไปอุดหลุมร่องฟัน ทันตแพทย์เด็กเล็กหรือนักทันตสุขอนามัยจะสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับอุดหลุมร่องฟันได้ แต่หากคุณเข้าใจจุดประสงค์การรักษาในระดับเบื้องต้นและทราบว่าการอุดหลุมร่องฟันช่วยปกป้องฟันได้อย่างไร จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้อย่างรอบคอบ

วัสดุอุดหลุมร่องฟันคืออะไร

วัสดุอุดหลุมร่องฟันคือปราการที่ทันตแพทย์เคลือบไว้บนฟันของเด็ก ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เศษอาหารและแบคทีเรียทำให้ฟันผุ สถาบันทันตกรรมเด็กของสหรัฐอเมริกา (AAPD) ระบุว่า "การอุดหลุมร่องฟันในเด็กและวัยรุ่ยได้แสดงให้เห็นแล้วว่าช่วยลดการเกิดฟันผุลงได้ 86 เปอร์เซ็นต์หลังผ่านไปหนึ่งปี และ 58 เปอร์เซ็นต์หลังผ่านไปสี่ปี" เมื่ออุดหลุมร่องฟันพร้อมกับดูแลสุขภาพช่องปากอย่างครบถ้วน ได้แก่ แปรงฟันอย่างถูกวิธี ขัดฟัน เคลือบฟลูออไรด์ และรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ จะช่วยรักษาสุขภาพช่องปากได้ ถึงแม้ว่าการแปรงฟันและขัดฟันจะมีส่วนสำคัญในการรักษาสุขภาพช่องปาก แต่การอุดหลุมร่องฟันจะเพิ่มการปกป้องให้กับบริเวณร่องลึกบนผิวฟันที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ

ต้องอุดหลุมร่องฟันซี่ใดและเมื่อไหร่

จำนวนฟันที่ต้องอุดหลุมร่องฟันจะขึ้นอยู่กับโอกาสในการเกิดฟันผุของลูก สมาคมทันตกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา (ADA) แนะนำว่าฟันกัดซี่หลักหรือฟันกรามที่นมาเมื่อเด็กอายุ 6 และ 12 ปี ควรจะได้รับการอุดหลุมร่องฟัน อย่างไรก็ตาม ฟันของคนเราเกิดฟันผุได้ทุกซี่ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันฟันผุ คุณจึงควรพาลูกไปเคลือบหลุมร่องฟันทันทีฟันแท้ของลูกงอกขึ้นมา ซึ่งมักเป็นตอนที่เด็กส่วนใหญ่อายุ 6 ปี

ใครเป็นคนอุดหลุมร่องฟัน

การอุดหลุมร่องฟันจะต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรม (นักทันตสุขอนามัย ทันตแพทย์) ที่คลินิก ก่อนจะอุดหลุมร่องฟัน แพทย์จะต้องทำความสะอาดและตรวจสภาพฟันอย่างเหมาะสม เมื่อฟันแห้ง ทันตแพทย์จะเคลือบวัสดุชนิดหนึ่งลงไปบนฟันแล้วล้างออก ก่อนจะรอให้ฟันแห้งอีกครั้ง หลังจากนั้นจะมีการเคลือบวัสดุอุดหลุมร่องฟันลงบนผิวฟันด้านบดเคี้ยว แล้วฉายแสงชนิดพิเศษลงไปบนฟันเพื่อให้วัสดุอุดฟันแข็งตัวบนผิวฟัน การอุดหลุมร่องฟันมักจะใช้เวลาไม่นานและไม่เจ็บปวด เด็ก ๆ แค่ต้องทำตัวนิ่ง ๆ ระหว่างการรักษาเท่านั้น

ข้อกังวลด้านสุขภาพ

เมื่อไม่นานมานี้ สมาคมทันตแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (ADA) ได้ออกมาแถลงการณ์เรื่องข้อกังวลของผู้ป่วยเกี่ยวกับโอกาสในการเกิดสาร Bisphenol A (BPA) ในวัสดุอุดหลุมร่องฟัน คำแถลงการณ์ของ ADA อ้างถึงรายงานประจำปี 2008 ที่จัดทำโดยโครงการพิษวิทยาแห่งชาติ ซึ่งระบุว่าการเกิดสาร BPA ในวัสดุอุดหลุมร่องฟันนั้น "ถือเป็นเหตุการณ์เฉียบพลันและพบได้ยาก และไม่ค่อยมีความสัมพันธ์กับการประมาณการณ์ความเสี่ยงของประชากรทั่วไป" นอกจากนี้ ADA ยังได้กล่าวอีกว่า ประโยชน์ของการอุดหลุมร่องฟันในแง่ของการป้องกันฟันผุมีน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยงต่อการเกิดสาร BPA มาก อย่างไรก็ตาม หากคุณกังวลเรื่องสาร BPA ให้คุณพูดคุยกับทันตแพทย์ของลูกก่อนจะพาลูกไปอุดหลุมร่องฟัน หรือขอให้ทันตแพทย์ใช้สารอุดหลุมร่องฟันที่ปราศจากสาร BPA

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพช่องปากทั่วไป ไม่ได้ใช้เพื่อแทนคำแนะนำ การวินิจฉัย หรือการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับอาการหรือการรักษาทางการแพทย์ โปรดขอคำแนะนำจากทันตแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม